วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การหาความรู้เกี่วยกับโรงเรียนในฝัน

โครงงาน ตอนที่1
………มีหน้าที่สำคัญคือการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานโครงการโรงเรียนในฝัน (Lab school)ซึ่งมีโรงเรียนในโครงการ 2626 โรงเรียน กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีเจตนาที่จะส่งเสริม การพัฒนาโรงเรียน.ในชนบทให้เป็นโรงเรียนดีๆที่อยู่ใกล้บ้านเด็กๆไม่ต้องไปเรียนในเมืองให้ไกลบ้าน ไกลผู้ปกครอง Concept หลัก คือการนำการปฏิรูปการศึกษาส่งตรงต่อกลุ่มปฏิติการ (โรงเรียน)อย่างเป็นรูปธรรม โรงเรียนในฝันทุกโรงเรียน เน้น “การพัฒนาทั้งระบบโรงเรียนสู่คุณภาพนักเรียนเป็นสำคัญ” คุณภาพนักเรียนที่ชัดที่สุดคือความสามารถในการแสวงหาความรู้ หาแนวทางการแก้ปัญหา สร้างความรู้ด้วยตนเองได้ ครูเปลี่ยนจาก ผู้บอกความรู้เป็นผู้จัดการให้นักเรียนได้เรียนรู้ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนจึงเปลี่ยนไปเน้นความสามารถและทักษะในการใช้เครื่องมือ เพื่อการหาข้อมูล หาข้อความรู้ เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสร้างความรู้ สร้างงาน ด้วยตนเองมากขึ้น โรงเรียนจึงมีแหล่งเรียนรู้ เพิ่มศักยภาพในการให้บริการด้านข่าวสาร ข้อมูล มากขึ้น ……
บันทึกหน้านี้ขอเสนอตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับคุณภาพนักเรียนโรงเรียนในฝันซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้น
1.การศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูล รูปธรรมที่คือ การใช้คำถาม การกำหนดกิจกรรมให้มีการสืบค้น ในแผนการสอน มีบัตรงานที่เน้นให้ค้นหาข้อมูลจากหนังสือหลายเล่ม จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งเช่น จาก web site จากe-book จากโปรแกรมสำเร็จ จากแหล่งเรียนรู้อื่น ทั้งแหล่งข้อมูลที่ครูนำเสนอและแหล่งข้อมูล นักเรียนแสวงหาเอง และหรือจากการทดลอง การลองทำดู และปรับปรุง จนได้ผลงานที่น่าพอใจเป็นต้น
2 .กิจกรรมการเรียน การสอนที่ให้ความสำคัญต่อคำถาม เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่มีเหตุผลประกอบ คำถามที่ต้องการคำอธิบายยาวๆ
3. กิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับคุณภาพนักเรียนที่กล่าวข้างต้น เช่นการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน (Project Approch) หรือ การเรียนรู้โดยโครงงาน (Project Approch) ในที่นี้นำหมายถึงการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้งอธิบายเพิ่มเติมคำว่า ลึกซึ้งมีลักษณะดังนี้
1) มีวิธีการเรียนรู้หลายๆวิธี 2 )เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้หลายๆแหล่ง 3 ) นำข้อมูลจากการเรียนรู้มาเชื่อมโยงเป็นคำตอบ เป็นผลงาน จากความหมายนี้จะให้การทำโครงงานแต่ละเรื่องต้องมีคำถาม อาจกำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน (แผนการจัดการเรียนรู้ )ดังนี้

กิจกรรมสำหรับครู




กิจกรรมสำหรับนักเรียน

1.กระตุ้นให้อยากเรียนรู้ ด้วยผลงานจากนักเรียนรุ่นที่ผ่านมา/ จากสาระการเรียนรู้ /จากเหตุการณ์ที่น่าสนใจอาจ ด้วยวิธีการระดมคำถาม
2. ให้อภิปรายความสำคัญของคำถาม เน้นความสำคัญและเหตุผล
3.ให้สำรวจแหล่งข้อมูล แหล่งเรียนรู้ ให้ ได้มากที่สุด (หนังสือหลายเล่ม Web สถานที่บุคคล อืน) ในขั้นนี้ต้องให้เวลาและถามถึงผลการสำรวจเป็นระยะ และกำหนดระยะเวลาในการนำเสนอแหล่งเรียนรู้
4. ให้นำเสนอแหล่งเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายตามความเหมาะสม
5. ให้ออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ออกแบบการทดลอง(กรณีเป็นการทดลอง) เช่นกำหนดประเด็นการสัมภาษณ์ ประเด็นการสำรวจ ประเด็นการบันทึก
6. กำหนดระยะเวลาการหาข้อมูลและถามหาข้อมูลเป็นระยะ ถามถึงการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นคำตอบเป็นผลงาน
7. ถามหาคำตอบ ผลงาน เป็นระยะและกระตุ้นให้รายงาน/ทำ งานทที่ใช้ที่ความสามารถทางComputer
8. และจัดสถานการณ์ให้นักเรียนนำเสนอผลงานคำถามที่ครูควรถาม 1) มีความรู้อะไรเพิ่มบ้าง 2) จากผลงานนี้จะพัฒนาต่ออย่างไร เป็นต้น

1.ตั้ง คำถาม อย่างหลากหลาย อาจใช้เทคนิคMapping
2 อภิปรายความสำคัญคำถามและจัดกลุ่มคำถาม
3.สำรวจหนังสือ แหล่งเรียนรู้ ระบุความเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากการค้นพบกับถามหรือความต้องการที่จะเรียนรู้
4. นำเสนอแหล่งข้อมูล พร้อมการเชื่อมโยงข้อมูลกับคำถามเดิม/อยากรู้ใหม่
5.ออกแบบการเก็บข้อมูล พิจารณาความเชื่อมโยงกับคำถามและแหล่งข้อมูล
6.ดำเนินการเรียนรู้ตามแหล่งข้อมูล แบบบันทึกที่กำหนด ( ถ้ามีการค้นพบเพิ่ม ปรับปรุงแบบบันทีกจะเป็นเรื่องที่ดี )และนำเสนอข้อมูลเป็นระยะ
7. ตรวจสอบคำตอบ ออกแบบ รายงานหรือผลงาน เตรียมการนำเสนอผลงานด้วยการบูณาการกับความสามารถทางComputer เช่น เป็นe-book animation รายงานที่ใข้ความสามารถด้านComputer 8.นำเสนอผลงาน ตอบคำถาม พัฒนาต่อ

จุดอ่อนที่พบจากการนำเสนอการเรียนรู้โดยโครงงาน กรณืที่พบ 1. เน้นการนำเสนอโครงงาน ลักษณะรายงานการวิจัย ถ้าอ่านรายละเอียดจะมีความขัดแย้งว่าเป็นผลงานของนักเรียนหรือครูที่ปรึกษา 2.ความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานไม่ชัด เป็นลักษณะลอกความรู้จากเอกสารมาตอบ คำตอบไม่เกิดจากการคิด- วิเคราะห์ 3.ไม่ให้ความสำคัญกับวิธีการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ (ถามตอบไม่ได้ บอกแหล่งไม่ได้ ถึงบอกได้ก็เพียง 1 วิธีและ1 แหล่งเรียนรู้เท่านั้น ) 4.ไม่ให้ความสำคัญต่อการสืบค้นและนำเสนอผ่าน ICT (โรงเรียนในฝันสนับสนุน) 5.ผลงานของนักเรียนกันทุกคน เป็นรูปแบบเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น